ผลงานการประพันธ์เพลง 30 ปีของ ศาสตราจารย์ ดร.ณรงค์ฤทธิ์ ธรรมบุตร (พ.ศ.2530-ปัจจุบัน)

       ณรงค์ฤทธิ์เริ่มประพันธ์เพลงตั้งแต่อายุ 13 ปี โดยได้ศึกษาด้วยตัวเองจากโน้ตเพลงของนักประพันธ์เพลงคลาสสิกที่ยิ่งใหญ่ของโลก จากนั้นได้เดินทางไปศึกษาต่อต่างประเทศจนจบปริญญาเอกทางการประพันธ์เพลงจาก Michigan State University ประเทศสหรัฐอเมริกา จากนั้นได้กลับมาเป็นอาจารย์สอนการประพันธ์เพลงที่คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผลงานได้รับการบรรเลงโดยวงออร์เคสตราชั้นนำในประเทศไทยและวงออร์เคสตราระดับนานาชาติหลายประเทศ ผู้ประพันธ์ได้รับการประกาศเกียรติคุณเป็น “ศิลปินศิลปาธร” (ศิลปินร่วมสมัยดีเด่น) สาขาดนตรี ในปีพ.ศ.2551 จากกระทรวงวัฒนธรรม ในลำดับต่อไปจะได้อธิบายถึงผลงานที่สำคัญตั้งแต่อดีตจนถึงปี พ.ศ.2561

 

1. ผลงานบทประพันธ์เพลงที่สำคัญช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2530-2533

1.1 กลางคืนและรุ่งเช้าในสกลจักรวาล (Night and Morning in the Spheres) ความยาว 10 นาที ประพันธ์ขึ้นในปี พ.ศ. 2530 เป็นซิมโฟนิกโพเอ็มสำหรับวงออร์เคสตราที่ได้รับแรงบันดาลใจจากวรรณกรรมเรื่องกามนิต กลางคืนและรุ่งเช้าในสกลจักรวาลได้รับการเผยแพร่ในโอกาสต่อไปนี้

  • บรรเลงโดย MSU Symphony Orchestra อำนวยเพลงโดย Matthew Hazelwood ผู้อำนวยเพลงชาวอเมริกัน ณ Wharton Center for the Performing Arts รัฐมิชิแกน ประเทศสหรัฐอเมริกา กุมภาพันธ์ พ.ศ.2531
  • บรรเลงโดย Bangkok Symphony Orchestra อำนวยเพลงโดย Timm Tzschaschel ผู้อำนวยเพลงชาวเยอรมัน ณ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย เมษายน พ.ศ.2534

1.2 ธรรมจักร (Dhamachakra) สำหรับวงออร์เคสตรา มีความยาว 9 นาที ประพันธ์ขึ้นในปีพ.ศ.2532 บทเพลงนี้เป็นบทเพลงแรกที่ผู้ประพันธ์ได้นำปรัชญาทางพุทธศาสนาประยุกต์ใช้กับโครงสร้างของบทประพันธ์เพลง ธรรมจักรประกอบด้วยลีลาการบรรเลงต่างกันทั้งหมด 3 ตอน คือ ช้า-เร็ว-ช้า ตลอดทั้งบทประพันธ์เพลงผู้ประพันธ์ได้ย้ายศูนย์กลางเสียงเป็นระยะขั้นคู่เสียงที่ห่างเท่ากัน ได้แก่ D, F, Ab, B และ D ดังนั้นชื่อของบทประพันธ์เพลงจึงสื่อความหมายถึงวงล้อแห่งธรรมที่สัมพันธ์กับโครงสร้างที่สมมาตรของศูนย์กลางเสียงหลักในบทประพันธ์เพลง เผยแพร่ในโอกาสต่อไปนี้

  • บรรเลงโดยวง Civic Orchestra of Chicago อำนวยเพลงโดย Michael Morgan ผู้อำนวยเพลงชาวอเมริกัน ณ นครชิคาโก ประเทศสหรัฐอเมริกา เมษายน พ.ศ.2533
  • บรรเลงโดย Japan Shinsei Symphony Orchestra อำนวยเพลงโดย Naohiro Totsuka ผู้อำนวยเพลงชาวญี่ปุ่น ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น พฤศจิกายน พ.ศ.2534

 

2. ผลงานบทประพันธ์เพลงที่สำคัญช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2534 – 2538

       ผลงานในช่วงนี้ได้ประพันธ์ขึ้นในช่วงที่ผู้ประพันธ์ได้มาเป็นอาจารย์ที่คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยได้รับผิดชอบสอนวิชาการประพันธ์เพลง วิชาการประสานเสียง และวิชาลีลาสัมพันธ์ (Counterpoint) ผู้ประพันธ์จึงได้มีโอกาสศึกษางานของนักประพันธ์เพลงในศตวรรษที่สิบแปดเป็นจำนวนมาก บทเพลงเหล่านี้ได้มีอิทธิพลกับผลงานของผู้ประพันธ์ในช่วงนี้ ขณะเดียวกันผู้ประพันธ์ได้รู้จักกับอาจารย์ถาวร ศรีผ่อง นักระนาดฝีมือดี ดังนั้นผู้ประพันธ์จึงสนใจในดนตรีไทยและได้มีโอกาสนำสำเนียงไทยมาประยุกต์ในบทประพันธ์เพลง ผลงานที่สำคัญ ได้แก่

2.1 จักร (Chakra) ผลงานการประพันธ์เพลงสำหรับคลาริเน็ต ไวโอลิน และเปียโน เป็นผลงานในรูปแบบดนตรีร่วมสมัยที่ประพันธ์ขึ้นในปีพ.ศ.2534 เผยแพร่ในโอกาสต่อไปนี้

  • บรรเลงโดย Verdehr Trio ณ Wharton Center รัฐมิชิแกน ประเทศสหรัฐอเมริกา มิถุนายน พ.ศ.2534
  • บรรเลงโดย Seoul University Trio ในเทศกาลดนตรี Asian Contemporary Music’92 ณ กรุงโซล ประเทศเกาหลี กันยายน พ.ศ.2535
  • บรรเลงโดย Kochi Ensemble ในเทศกาลดนตรี Musicarama’92 ณ Academy for the Performing Arts ฮ่องกง ประเทศจีน ตุลาคม พ.ศ.2535
  • บรรเลงโดย The Zelanian Ensemble ในเทศกาลดนตรี Asia Pacific Festival ประเทศนิวซีแลนด์ ธันวาคม พ.ศ.2535
  • บรรเลงโดย Verdehr Trio ณ Merkin Hall นครนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา มกราคม พ.ศ.2536
  • บรรเลงโดย Verdehr Trio ณ IRCAM Centre Georges Pompidou กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส มีนาคม พ.ศ.2536
  • บรรเลงในคอนเสิร์ต Contemporary Music Project’94 นครฮิโรชิมา ประเทศญี่ปุ่น มิถุนายน พ.ศ.2537

2.2 ซินโฟเนียจามจุรี (Sinfonia Jamjuree) ความยาว 15 นาที ประพันธ์ขึ้นในปี พ.ศ.2535 เพื่อร่วมเฉลิมฉลองในวาระครบ 72 ปีแห่งการสถาปนาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประพันธ์ขึ้นสำหรับวงออร์เคสตรา บทเพลงนี้ได้รับการเผยแพร่ในโอกาสต่อไปนี้

  • บรรเลงโดยวงซิมโฟนีออร์เคสตราแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (Chulalongkorn University Symphony Orchestra) อำนวยเพลงโดยบรูซ แกสตัน ณ หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีนาคม พ.ศ.2535

2.3 คอนแชร์โตสำหรับวงออร์เคสตรา (Concerto for Orchestra) ความยาว 16 นาที ประพันธ์ในปีพ.ศ.2536 บทประพันธ์นี้เป็นคอนแชร์โตสำหรับวงออร์เคสตราที่ได้รับอิทธิพลจากคอนแชร์โตของดนตรีตะวันตก ผสมผสานกับสำเนียงดนตรีแบบไทย เผยแพร่ในโอกาสต่อไปนี้

  • บรรเลงโดย Hiroshima Symphony Orchestra ในเทศกาลดนตรีนานาชาติ “Hiroshima Hot Wave” อำนวยเพลงโดย Yip Wing-Sie ผู้อำนวยเพลงชาวจีน ณ นครฮิโรชิมา ประเทศญี่ปุ่น ตุลาคม พ.ศ.2536
  • บรรเลงโดย Bangkok Symphony Orchestra อำนวยเพลงโดย Timm Tzschaschel ผู้อำนวยเพลงชาวเยอรมัน ณ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย พฤศจิกายน พ.ศ.2536

2.4 ภวังค์ (Bhawangkha) สำหรับระนาดเอกและวงออร์เคสตรา ความยาว 12 นาที ประพันธ์ในปีพ.ศ.2537 เป็นคอนแชร์โตสำหรับระนาดเอกและวงออร์เคสตราบทแรกของผู้ประพันธ์ เผยแพร่ในโอกาสต่อไปนี้

  • บรรเลงเดี่ยวระนาดเอกโดยถาวร ศรีผ่อง ร่วมกับ Hiroshima Symphony Orchestra อำนวยเพลงโดย Naohiro Totsuka ผู้อำนวยเพลงชาวญี่ปุ่น ในงานเทศกาลศิลปะเฉลิมฉลองพิธีเปิดกีฬาเอเชียนเกมส์ครั้งที่ 12 ณ นครฮิโรชิมา ประเทศญี่ปุ่น สิงหาคม พ.ศ.2537
  • บรรเลงเดี่ยวระนาดเอกโดยถาวร ศรีผ่อง ร่วมกับ วงซิมโฟนีออร์เคสตราแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อำนวยเพลงโดย Isao Matsushita ณ หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตุลาคม พ.ศ.2537
  • บรรเลงเดี่ยวระนาดเอกโดยถาวร ศรีผ่อง ร่วมกับ Ensemble Stella Nova อำนวยเพลงโดย Isao Matsushita ในงานคอนเสิร์ต “Sogakudo” Asian Traditional/Asian Modern ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ตุลาคม พ.ศ.2540

2.5 ซินโฟเนียอยุธยา (Sinfonia Ayutthaya) ซิมโฟนิกโพเอ็มสำหรับวงออร์เคสตรา ความยาว 16 นาที ประพันธ์ขึ้นในปีพ.ศ.2538 โดยได้รับการสนับสนุนจากคณะกรรมการอาเซียนว่าด้วยวัฒนธรรมและสารสนเทศ บทเพลงนี้ประกอบด้วย 3 ท่อนที่บรรเลงต่อเนื่องกันดังต่อไปนี้คือ ทัศน์ เทศกาล และโบราณสถาน เผยแพร่ในโอกาสต่อไปนี้

  • บรรเลงโดยวงซิมโฟนีออร์เคสตราแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อำนวยเพลงโดย สิทธิชัย เพ็งเจริญ ณ หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ธันวาคม พ.ศ.2539

2.6 พุทธชาด (Bhudhachat) สำหรับฟลูต กีต้าร์ และเปียโน ความยาว 9 นาที ประพันธ์ในปีพ.ศ.2538 เป็นบทเพลงที่บรรยายความสวยงามของดอกไม้ที่ต้องอยู่ท่ามกลางสิ่งแวดล้อมอันโหดร้าย พุทธชาดได้รับการเผยแพร่ในโอกาสต่อไปนี้

  • บรรเลงโดย Kazuhito Yamashita นักกีตาร์ระดับโลกชาวญี่ปุ่น เมษายน พ.ศ.2538
  • บรรเลงในคอนเสิร์ต The Bangkok Music Festival’95 โดยดัดแปลงให้บรรเลงด้วยฟลูต เชลโล และเปียโน ธันวาคม พ.ศ.2538

 

3 ผลงานบทประพันธ์เพลงที่สำคัญในช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2539-2548

       ผลงานในช่วงนี้เป็นบทเพลงที่ประพันธ์ขึ้นในวาระสำคัญหลายครั้ง เทคนิคที่ผู้ประพันธ์ใช้คือ เทคนิคการคัดทำนอง (Quotation) ผลงานที่สำคัญได้แก่

3.1 ซินโฟเนียจักรี (Sinfonia Chakri) ซิมโฟนิกโพเอ็มสำหรับวงออร์เคสตรา ความยาว 15 นาที ประพันธ์ในปีพ.ศ.2539 เนื่องในวโรกาสทรงครองสิริราชสมบัติครบ 50 ปีของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ผู้ประพันธ์ได้นำบทเพลงพระราชนิพนธ์มาเป็นพื้นฐานในการประพันธ์ เผยแพร่ในโอกาสต่อไปนี้

  • บรรเลงโดย Bangkok Symphony Orchestra อำนวยเพลงโดย John Georgiadis ผู้อำนวยเพลงชาวอังกฤษ ณ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย พฤษภาคม พ.ศ.2539
  • บรรเลงโดย Bangkok Symphony Orchestra อำนวยเพลงโดย Hikotaro Yazaki ผู้อำนวยเพลงชาวญี่ปุ่น ณ หอประชุมวิเทศสโมสร กรุงเทพมหานคร พ.ศ.2545
  • บรรเลงโดย Bangkok Symphony Orchestra อำนวยเพลงโดย Hikotaro Yazaki ณ Tokyo Opera City Concert Hall: Takemitsu Memorial กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น สิงหาคม พ.ศ.2545 เนื่องในโอกาสที่วงได้รับเชิญให้ไปแสดงในงาน Asia Orchestra Week 2002

  • บรรเลงโดย SSMS Orchestra อำนวยเพลงโดย Hikotaro Yazaki ณ หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมษายน พ.ศ.2560

3.2 ไตร (Tri) สำหรับไวโอลินและเปียโน ความยาว 8 นาที ประพันธ์ในปี พ.ศ.2540 เป็นการดัดแปลงบทเพลงภวังค์สำหรับระนาดเอกและวงออร์เคสตรา เพื่อสำหรับบรรเลงโดยไวโอลินและเปียโน บทเพลงนี้ได้รับการเผยแพร่ในโอกาสต่อไปนี้

  • บรรเลงในเทศกาลดนตรีนานาชาติ Sendai Asian Music Festival ’98 ณ นครเซนได ประเทศญี่ปุ่น มกราคม พ.ศ.2541
  • บันทึกเสียงในชื่อชุด “ไตร” โดย นรอรรถ จันทร์กล่ำ (ไวโอลิน) และ Kit Young (เปียโน) ซึ่งได้รับรางวัลเพลงบรรเลงยอดเยี่ยมจาก “คม ชัด ลึก อวอร์ด” พ.ศ.2550

3.3 คอนแชร์โตมหาราชา (Concerto Maharaja) สำหรับระนาดเอกและวงออร์เคสตรา ความยาว 20 นาที ประพันธ์ในปีพ.ศ.2542 เพื่อร่วมเฉลิมฉลองในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ เป็นคอนแชร์โตสำหรับระนาดเอกและวงออร์เคสตราบทที่ 2 ของผู้ประพันธ์ บทเพลงนี้นำบทเพลงไทย 4 ภาคมาผสมผสานกับเนื้อหาดนตรีในแบบคอนแชร์โตตะวันตก เผยแพร่ในโอกาสต่อไปนี้

  • บรรเลงเดี่ยวระนาดเอกโดยถาวร ศรีผ่อง ร่วมกับ Japan Shinsei Symphony Orchestra อำนวยเพลงโดย Naohiro Totsuka ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ตุลาคม พ.ศ.2542 ในโอกาสนี้มงกุฎราชกุมารนารุฮิโตแห่งญี่ปุ่นได้เสด็จทอดพระเนตรด้วย

  • บรรเลงเดี่ยวระนาดเอกโดยถาวร ศรีผ่อง ร่วมกับวงซิมโฟนีออร์เคสตราแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อำนวยเพลงโดย พันเอกชูชาติ พิทักษากร ศิลปินแห่งชาติ ณ หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พฤศจิกายน พ.ศ.2542
  • บรรเลงเดี่ยวระนาดเอกโดยถาวร ศรีผ่อง ร่วมกับ Bangkok Symphony Orchestra อำนวยเพลงโดย Shardad Rohani ณ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย พฤษภาคม พ.ศ.2544

3.4 ซิกเอนิกมาพอร์เทรตส์ (Six Enigma Portraits) สำหรับวงสตริงควอเท็ต (String quartet) ความยาว 10 นาที ประพันธ์ในปี พ.ศ.2544 เป็นการผสมผสานกันระหว่างสำเนียงดนตรีในระบบอิงกุญแจเสียงและระบบไร้กุญแจเสียง บทเพลงนี้ได้รับการเผยแพร่ในโอกาสต่อไปนี้

  • บรรเลงโดย Bangkok String Quartet มีนาคม พ.ศ.2544
  • บรรเลงโดย Ensemble Kochi กุมภาพันธ์ พ.ศ.2546

3.5 ซิมโฟนีแห่งสกลจักรวาล (Symphony of the Spheres) ความยาว 35 นาที บรรยายถึงความลึกลับของระบบสุริยจักรวาลตามความเชื่อของกรีกโบราณ ประพันธ์ในปีพ.ศ.2545 ซิมโฟนีบทนี้เป็นซิมโฟนีหมายเลข 1 ของผู้ประพันธ์ บทเพลงนี้ได้รับการเผยแพร่ในโอกาสต่อไปนี้

  • บรรเลงโดยวงซิมโฟนีออร์เคสตราแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อำนวยเพลงโดย ชูวิทย์ ยุระยง เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในโอกาสวันพระบรมสมภพครบ 150 ปี ณ หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พฤศจิกายน พ.ศ.2546

3.6 ซินโฟเนียสุวรรณภูมิ (Sinfonia Suvarnabhumi) ความยาว 22 นาที ประพันธ์ในปี พ.ศ.2548 โดยได้รับแรงบันดาลใจจากสถานที่ เหตุการณ์ และวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับดินแดนสุวรรณภูมิผสมผสานกับเทคนิคดนตรีคลาสสิกร่วมสมัย นับเป็นซิมโฟนีหมายเลข 2 ของผู้ประพันธ์ บทเพลงนี้ได้รับการเผยแพร่ในโอกาสต่อไปนี้

  • บรรเลงโดย National Symphony Orchestra of Thailand อำนวยเพลงโดย วานิช โปตะวนิช ในเทศกาลดนตรี The World New Music Festival and Conference 2005 (The 25th Festival of the Asian Composer League) กรุงเทพมหานคร มีนาคม พ.ศ.2548
  • บรรเลงโดยวงซิมโฟนีออร์เคสตราแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อำนวยเพลงโดย นรอรรถ จันทร์กล่ำ ณ หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พฤศจิกายน พ.ศ.2548

 

4. ผลงานบทประพันธ์เพลงที่สำคัญในช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2549-2551

       ผลงานในช่วงนี้เป็นบทเพลงที่ประพันธ์ขึ้นเนื่องในวาระที่สำคัญในประวัติศาสตร์ชาติไทยหลายวาระ ผลงานที่สำคัญได้แก่

4.1 ไวโอลินคอนแชร์โตสังคีตมงคล (Violin Concerto Sankitamankala) สำหรับไวโอลินและวงออร์เคสตรา ความยาว 32 นาที ประพันธ์ในปีพ.ศ.2549 เนื่องในวโรกาสมหามงคลสมัยที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเจริญพระชนมพรรษา 80 พรรษา บทเพลงนี้ได้รับการเผยแพร่ในโอกาสต่อไปนี้

  • บรรเลงโดย Karin-Regina Florey นักไวโอลินชาวออสเตรีย ร่วมกับ Bangkok Symphony Orchestra อำนวยเพลงโดย พลเรือตรีวีระพันธ์ วอกลาง ศิลปินแห่งชาติ กรกฎาคม พ.ศ.2550

4.2 จาบัลย์ (Jabalaya) สำหรับไวโอลิน คลาริเน็ต เชลโล และเปียโน ความยาว 12 นาที ประพันธ์ขึ้นในปีพ.ศ.2551 เพื่อร่วมรำลึกถึงการสิ้นพระชนม์ของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ บทเพลงนี้มีการจัดระบบเสียงแบบดนตรีไร้กุญแจเสียง ได้รับการสนับสนุนจากกองทุนรัชดาภิเษกสมโภช จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บทเพลงนี้ได้รับการเผยแพร่ในโอกาสต่อไปนี้

  • บรรเลงโดย New York New Music Ensemble ใน Thailand International Composition Festival กรกฏาคม พ.ศ.2551

4.3 โหมโรงจตุภูมิ (Jatubhumi Overture) สำหรับวงออร์เคสตรา ความยาว 7 นาที ประพันธ์ในปีพ.ศ.2551 โดยผู้ประพันธ์ได้นำบทเพลงพื้นบ้านของประเทศไทยมาเป็นพื้นฐานและวัตถุดิบของบทประพันธ์ บทเพลงนี้ได้รับการเผยแพร่ในโอกาสต่อไปนี้

  • บรรเลงโดย Bangkok Symphony Orchestra อำนวยเพลงโดย นรอรรถ จันทร์กล่ำ สิงหาคม พ.ศ.2552

4.4 ถวายปฏิญญา (Pledge to HRH Princess Galyani Vadhana) ความยาว 18 นาที ประพันธ์ในปีพ.ศ.2551 ในนามของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อเป็นที่ระลึกในงานพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ บทเพลงนี้ได้รับการเผยแพร่ในโอกาสต่อไปนี้

  • บันทึกเสียงในชื่อชุด “ประโคมเพลง ประเลงถวาย” โดยสถานีวิทยุแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กันยายน พ.ศ.2551

  • บรรเลงโดยวงซิมโฟนีแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อำนวยเพลงโดย นรอรรถ จันทร์กล่ำ ณ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย พฤศจิกายน พ.ศ.2551 และออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส เมื่อวันที่ 2 มกราคม พ.ศ.2552

  • บรรเลงโดยวงซิมโฟนีออร์เคสตราแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อำนวยเพลงโดย นรอรรถ จันทร์กล่ำ ณ หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พฤศจิกายน พ.ศ.2551
  • บรรเลงโดยวงซิมโฟนีออร์เคสตราแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อำนวยเพลงโดย นรอรรถ จันทร์กล่ำ ณ เวทีท้องสนามหลวง ในงานพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ พฤศจิกายน พ.ศ.2551
  • เผยแพร่ทางสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส ในรายการ “ดนตรีกวีศิลป์” เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ.2551

 

5. ผลงานการประพันธ์เพลงที่สำคัญระหว่างปี พ.ศ. 2552 - ปัจจุบัน

5.1 ปิยสยามินทร์ (Piyasayamintra) ซิมโฟนีสำหรับวงออร์เคสตรา นักร้องประสานเสียง นักร้องโซปราโนเดี่ยว และผู้อ่านบทกวี ความยาว 31 นาที ประพันธ์ขึ้นในนามของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเนื่องในวาระครบ 1 ศตวรรษแห่งการสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว บทเพลงนี้ได้รับแรงบันดาลใจจากบทกวี “ปิยสยามินทร์” ของ ก้องภพ รื่นศิริ กวีร่วมสมัย นับเป็นซิมโฟนีหมายเลข 4 ของผู้ประพันธ์ บทเพลงนี้ได้รับการเผยแพร่ในโอกาสต่อไปนี้

  • บรรเลงโดยวงซิมโฟนีออร์เคสตราแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อำนวยเพลงโดย นรอรรถ จันทร์กล่ำ ณ หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตุลาคม พ.ศ.2553
  • บันทึกเสียงในชื่อชุด “บทเพลงสำหรับวงออร์เคสตรา ชุดที่ 1” ประพันธ์โดย ณรงค์ฤทธิ์ ธรรมบุตร

5.2 แสงอรุณ (Sunlight) สำหรับวงออร์เคสตราเครื่องสาย ความยาว 7 นาที ประพันธ์ขึ้นในปีพ.ศ.2552 บรรยายภาพของพระอาทิตย์ขึ้น เป็นการผสมผสานระหว่างดนตรีสำเนียงไทยและเทคนิคการบรรเลงดนตรีตะวันตกร่วมสมัย บทเพลงนี้เผยแพร่ในโอกาสต่อไปนี้

  • บรรเลงโดย Sunrise Orchestra ณ งานเทศกาลดนตรี Tagum City Musikahan Festival เมือง Davao ประเทศฟิลิปปินส์ กรกฎาคม พ.ศ.2556 อำนวยเพลงโดย พูนโชค กุหลาบวงษ์
  • บรรเลงโดย Sunrise Orchestra ณ Nanyang Girls’s High School ประเทศสิงคโปร์ มิถุนายน พ.ศ.2557
  • บันทึกเสียงในชื่อชุด “Sunlight Moonlight” บรรเลงโดย Sunrise Orchestra

 

5.3 นัมมทา (Narmada) คอนแชร์โตสำหรับเปียโนและวงออร์เคสตราเครื่องสาย ความยาว 20 นาที ประพันธ์ขึ้นในปีพ.ศ.2554 เป็นบทประพันธ์ที่ได้รับแรงบันดาลใจจากความเลื่อมใสในแก่นของพุทธปรัชญา คอนแชร์โตบทนี้บรรยายเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับแม่น้ำนัมมทาในประเทศอินเดีย บทเพลงนี้เผยแพร่ในโอกาสต่อไปนี้

  • บรรเลงครั้งแรกโดย รามสูร สีตลายัน ร่วมกับวงซิมโฟนีออร์เคสตราแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อำนวยเพลงโดย นรอรรถ จันทร์กล่ำ ณ หอแสดงดนตรีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรกฎาคม พ.ศ.2554

  • บันทึกเสียงในชื่อชุด “บทเพลงสำหรับวงออร์เคสตรา ชุดที่ 1” ประพันธ์โดย ณรงค์ฤทธิ์ ธรรมบุตร

5.4 แสงจันทร์ (Moonlight) สำหรับเดี่ยวเปียโนและวงออร์เคสตราเครื่องสาย ความยาว 12 นาที ประพันธ์ขึ้นในปีพ.ศ.2554 บทเพลงบรรยายถึงภาพของค่ำคืนภายใต้แสงจันทร์ที่มีทั้งความงดงาม ความลึกลับ และความพิศวง บทเพลงนี้เผยแพร่ในโอกาสต่อไปนี้

  • บรรเลงโดย Sunrise Orchestra ณ St. Scholastica’s College ประเทศฟิลิปปินส์ โดยมีอุษา นภาวรรณ เดี่ยวเปียโน และอำนวยเพลงโดย พูนโชค กุหลาบวงษ์

5.5 เปียโนคอนแชร์โตแห่งกรุงสยาม (Piano Concerto of Siam) สำหรับเปียโนและวงออร์เคสตราเครื่องสาย ความยาว 60 นาที ประพันธ์ในขึ้นในปีพ.ศ.2556 เป็นบทเพลงเปียโนคอนแชร์โตที่ประพันธ์ต่อยอดขึ้นจากผลงานการเรียบเรียงเพลงไทย 7 เพลงสำหรับเดี่ยวเปียโนโดย พันเอกชูชาติ พิทักษากร ศิลปินแห่งชาติ และประดิษฐ์แนวเปียโนเดี่ยวเพิ่มเติมโดย ณัชชา พันธุ์เจริญ สำหรับคอนแชร์โตแห่งกรุงสยาม ประกอบด้วยบทเพลงคอนแชร์โต 7 บท บทเพลงนี้เผยแพร่ในโอกาสต่อไปนี้

  • บรรเลงเดี่ยวโดย ณัชชา พันธุ์เจริญ ร่วมกับวงซิมโฟนีออร์เคสตราแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อำนวยเพลงโดย นรอรรถ จันทร์กล่ำ กรกฎาคม พ.ศ. 2556
  • บันทึกเสียงในชื่อชุด “เปียโนคอนแชร์โตแห่งกรุงสยาม” โดย สภาวิจัยแห่งชาติและสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

5.6 ประสานเสียงสำเนียงระฆัง (The Harmony of Chimes) เป็นซิมโฟนีสำหรับเครื่องดนตรีอาเซียนและวงออร์เคสตรา ความยาว 47 นาที ประกอบด้วย 7 ท่อน ประพันธ์ขึ้นในปีพ.ศ. 2555-2556 สำหรับการแสดงคอนเสิร์ตเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี- นาถ “The Harmony of Chimes” นับเป็นซิมโฟนีหมายเลข 5 บทเพลงนี้เผยแพร่ในโอกาสต่อไปนี้

  • บรรเลงโดยนักดนตรีอาเซียน 5 ชาติ ร่วมกับ Royal Bangkok Symphony Orchestra อำนวยเพลงโดย Shardad Rohani ผู้อำนวยเพลงชาวอิหร่าน-อเมริกัน ณ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย กรกฎาคม พ.ศ.2558
  • จัดทำเป็นดีวีดี “The Harmony of Chimes” สนับสนุนโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)

5.7 “Le pas de mon Père” (เดินตามรอยเท้าพ่อ) เป็นซิมโฟนิกโพเอ็มสำหรับวงออร์เคสตราและนักร้องประสานเสียง ความยาว 23 นาที ประพันธ์ขึ้นในปีพ.ศ.2558 โดยได้รับแรงบันดาลใจจากพระราชนิพนธ์บทกวี “Le pas de mon Père” ของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่ทรงพระราชนิพนธ์ไว้เป็นภาษาฝรั่งเศส เผยแพร่ในโอกาสต่อไปนี้

  • บรรเลงโดยวงซิมโฟนีออร์เคสตราแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อำนวยเพลงโดยนรอรรถ จันทร์กล่ำ เนื่องในคอนเสิร์ตเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสฉลองพระชนมายุ 5 รอบ (60 พรรษา)
  • บรรเลงโดยวง Royal Bangkok Symphony Orchestra อำนวยเพลงโดยวานิช โปตะวนิช เนื่องในคอนเสิร์ต “ราชสดุดี – อัครศิลปิน” ธันวาคม พ.ศ.2559

5.8 “จิตวิญญาณแห่งอาเซียน” สำหรับวงเปียโนควินเท็ต (Quintet for the Spirits of ASEAN) ความยาว 50 นาที เป็นบทเพลงขนาดใหญ่สำหรับวงเปียโนควินเท็ต ประกอบด้วย 12 ท่อนที่ประพันธ์จากวัตถุดิบดนตรีจากกลุ่มประเทศอาเซียน เผยแพร่ในโอกาสต่อไปนี้

  • บรรเลงโดยวง Pro Musica Ensemble ณ หอแสดงดนตรี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสยามสมาคม กรกฎาคม พ.ศ.2558
  • บันทึกเสียงในชื่อชุด “The Spirits of ASEAN” for Piano Quintet บรรเลงโดยวง Pro Musica Ensemble สนับสนุนโดยสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ

5.9 ภาพแห่งสามวัด (The Portrait of Three Temples) สำหรับวงออร์เคสตราเครื่องสาย ความยาว 12 นาที ประพันธ์ขึ้นในปีพ.ศ.2559 บทเพลงบรรยายถึงความประทับใจต่อประเทศไทยของผู้ประพันธ์ บทเพลงนี้เผยแพร่ในโอกาสต่อไปนี้

  • บรรเลงโดย Sunrise Orchestra ณ Slovak Radio ประเทศสโลวาเกีย และ University of Music and Performing Arts Vienna ประเทศออสเตรีย พฤศจิกายน พ.ศ.2559 อำนวยเพลงโดย พูนโชค กุหลาบวงษ์

5.10 โหมโรงภัทรมหาราชา (Bhattara Maharaja Overture) สำหรับวงออร์เคสตราและนักร้องประสานเสียง ความยาว 9 นาที ประพันธ์ขึ้นในปีพ.ศ.2559 เพื่อน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เผยแพร่ในโอกาสต่อไปนี้

  • บรรเลงโดยวงดุริยางค์เยาวชนสถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา (Princess Galyani Vadhana Institute of Music Youth Orchestra) ร่วมด้วยนักดนตรีจากวงดุริยางค์ทหารบก ทหารเรือ ทหารอากาศ ตำรวจ และกรมศิลปากร อำนวยเพลงโดย Norman Huynh ผู้อำนวยเพลงชาวเวียดนาม-อเมริกัน ณ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย มกราคม พ.ศ.2560

5.11 “ภูมิพลอดุลยเดชมหาราชา” (“Bhumibol Adulyadej Maharaja”) ซิมโฟนีสำหรับวงออร์เคสตรา นักร้องโซปราโนเดี่ยว นักร้องบาริโทนเดี่ยว และนักร้องประสานเสียง ความยาว 43 นาที นับเป็นซิมโฟนีหมายเลข 6 ประพันธ์ขึ้นในนามจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเพื่อร่วมถวายความอาลัยและน้อมรำลึกถึงการเสด็จสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ประกอบด้วย 5 ท่อน ได้รับแรงบันดาลใจจากบทกวี “ภูมิพลอดุลยเดชมหาราช” ของก้องภพ รื่นศิริ ประพันธ์ในปีพ.ศ.2560 เผยแพร่ในโอกาสต่อไปนี้

  • บรรเลงในคอนเสิร์ต “คีตราชา จุฬาฯ ถวายราชสดุดี” บรรเลงโดยวงซิมโฟนีออร์เคสตราแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อำนวยเพลงโดย นรอรรถ จันทร์กล่ำ ณ หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรกฎาคม พ.ศ.2560

5.12 ซินโฟเนียสยามินทร์ (Sinfonia Siamindra) เป็นซิมโฟนิกโพเอ็ม ความยาว 20 นาที พรรณนาถึงความผูกพันของสถาบันพระมหากษัตริย์กับชาวสยามนับตั้งแต่กรุงสุโขทัยจนถึงราชวงศ์จักรีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เผยแพร่ในโอกาสต่อไปนี้

  • บรรเลงในคอนเสิร์ตเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 28 กรกฎาคม 2560 บรรเลงโดยวง Royal Bangkok Symphony Orchestra อำนวยเพลงโดย Charles Olivieri-Munroe ผู้อำนวยเพลงชาวแคนาดา

5.13 ซิมโฟนีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ (Symphony of Rattanakosin) เป็นซิมโฟนีขนาดใหญ่ ความยาว 48 นาที นับเป็นซิมโฟนีหมายเลข 7 ประกอบด้วย 4 ท่อน ประพันธ์โดยใช้ทำนองที่เป็นพระราชนิพนธ์ของพระมหากษัตริย์ในราชวงศ์จักรีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เผยแพร่ในโอกาสต่อไปนี้

  • บันทึกเสียงในชื่อ “ซิมโฟนีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์” บรรเลงโดยวงออร์เคสตราแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อำนวยเพลงโดย นรอรรถ จันทร์กล่ำ

  • บรรเลงโดยวง Royal Bangkok Symphony Orchestra อำนวยเพลงโดย Michel Tilkin ผู้อำนวยเพลงชาวเบลเยียม กรกฎาคม พ.ศ.2561

  • บรรเลงโดยวง Thailand Youth Orchestra ณ Alicante International Music Festival ณ เมือง Alicante, Teulada และ Torrevieja ประเทศสเปน อำนวยเพลงโดย อัครวัฒน์ ศรีณรงค์ สิงหาคม พ.ศ.2561

5.14 “มหาอาณาจักร” (The Empires) ซิมโฟนิกโพเอ็มสำหรับวงออร์เคสตรา ความยาว 24 นาที ประกอบด้วย 5 ท่อน ที่บรรเลงต่อเนื่องกัน เป็นบทเพลงที่พรรณนาถึงอาณาจักรสำคัญในอดีตแห่งดินแดนสุวรรณภูมิ ประกอบด้วย พุกาม ทวารวดี ล้านช้าง อังกอร์ และจามปา เผยแพร่ในโอกาสต่อไปนี้

  • บรรเลงโดยวง Thailand Philharmonic Orchestra ในคอนเสิร์ตปิดเทศกาลดนตรีร่วมสมัยนานาชาติ The 14th Thailand International Composition Festival (TICF) อำนวยเพลงโดย Shinik Hahm ผู้อำนวยเพลงชาวเกาหลี-อเมริกัน ณ มหิดลสิทธาคาร (Prince Mahidol Hall) มหาวิทยาลัยมหิดล สิงหาคม พ.ศ.2561

5.15 "เอเชียนยูโฟนี" (Asian Euphony) สำหรับวงออร์เคสตราและเครื่องดนตรีเอเชีย 5 ชิ้น ความยาว 9 นาที เผยแพร่ในโอกาสต่อไปนี้

  • บรรเลงในงานเทศกาล Multi Cultural Festival ณ เมือง Greeley รัฐ Colorado ประเทศสหรัฐอเมริกา อำนวยเพลงโดย Michael Alexander ตุลาคม 2561

5.16 "ซิมโฟนีบดินทร" (The Bodindra Symphony) เป็นซิมโฟนีขนาดใหญ่สำหรับวงออร์เคสตรา, นักร้องบาริโทน และวงขับร้องประสานเสียง ความยาว 40 นาที ประกอบด้วย 5 ท่อนบรรเลงต่อเนื่องกัน เผยแพร่ในโอกาสต่อไปนี้

  • บรรเลงโดย Royal Bangkok Symphony Orchestra ในคอนเสิร์ต "ดุริยางค์นบประโคมประเลง" การแสดงเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 28 กรกฎาคม 2562 อำนวยเพลงโดย Michel Tilkin ณ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย กรกฎาคม 2562

5.17 "ซินโฟเนียอยุธยา" (Sinfonia Ayutthaya) ฉบับแก้ไข 2562 ซิมโฟนิกโพเอ็ม ความยาว 15 นาที บรรยายภาพความสวยงามของพระนครศรีอยุธยาในอดีต เผยแพร่ในโอกาสต่อไปนี้

  • บรรเลงโดย Thailand Philharmonic Orchestra อำนวยเพลงโดย ภมรพรรณ โกมลภมร ณ มหิดลสิทธาคาร (Prince Mahidol Hall) มหาวิทยาลัยมหิดล กรกฎาคม 2562

5.18 "อารยธรรมแห่งอุษาคเนย์" (Civilizations of ASEAN) คอนแชร์โตสำหรับเครื่องดนตรีอาเซียนและ เชมเบอร์ออร์เคสตรา ความยาว 30 นาที เผยแพร่ในโอกาสต่อไปนี้

  • บรรเลงโดย CU Chamber Ensemble อำนวยเพลงโดย Michael Alexander ณ หอแสดงดนตรี อาคารศิลปวัฒนธรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 30 ตุลาคม 2562

5.19 "สุวรรณภูมิเพรลูด" (Suvarnabhumi Prelude) ความยาว 6 นาที เผยแพร่ในโอกาสต่อไปนี้

  • บรรเลงโดย Brass Ensemble of the Royal Concertgebouw Orchestra ณ มหิดลสิทธาคาร (Prince Mahidol Hall) มหาวิทยาลัยมหิดล 28 พฤศจิกายน 2562

5.20 "ศรีวิชัย" (Srivijaya) เป็นบทเพลงแรกจากเพลงชุด "The Maritime Empires" ความยาว 8 นาที เผยแพร่ในโอกาสต่อไปนี้

  • บรรเลงโดย WIRO Ensemble ในคอนเสิร์ต Voice of Asia ณ Sejong Center for the Performing Arts กรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้ 1 พฤษภาคม 2563

5.21 โหมโรง “Royal Celebration” (Royal Celebration Overture) สำหรับวงออร์เคสตรา ความยาว 7 นาที ประพันธ์ขึ้นในปีพ.ศ. 2563 เพื่อร่วมเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 28 กรกฎาคม 2563

  • บรรเลงโดยวงรอยัลแบงค์คอกซิมโฟนีออร์เคสตรา (Royal Bangkok Symphony Orchestra) อำนวยเพลงโดย วานิช โปตะวนิช กรกฎาคม พ.ศ. 2563 ณ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย

5.22 “The Glorious Kingdom Symphony” (ซิมโฟนี หมายเลข 9) สำหรับวงออร์เคสตรา ความยาว 43 นาที ประพันธ์ขึ้นในปี พ.ศ. 2563 - 2564 เพื่อร่วมเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ณ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย 28 กรกฎาคม 2564

  • บรรเลงโดยวงรอยัลแบงค์คอกซิมโฟนีออร์เคสตรา (Royal Bangkok Symphony Orchestra) อำนวยเพลงโดย Michel Tilkin กรกฎาคม พ.ศ. 2564  (มีการเปลี่ยนแปลงกำหนดการแสดง เนื่องจากสถานการณ์โควิด-19)

5.23 มหาอาณาจักรภาคพื้นสมุทร”  “The Maritime Empires” ซิมโฟนิกโพเอ็มสำหรับวงออร์เคสตรา ความยาว 19 นาที ประพันธ์ขึ้นในปี พ.ศ. 2563 - 2564 ประกอบด้วย 3 ท่อนที่บรรเลงต่อเนื่องกัน เป็นบทเพลงที่พรรณนาถึงอาณาจักรโบราณแห่งดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

  • บรรเลงโดยวง Thailand Philharmonic Orchestra อำนวยเพลงโดย Oliviere Ochanine ณ มหิดลสิทธาคาร มหาวิทยาลัยมหิดล 9 – 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 (มีการเปลี่ยนแปลงกำหนดการแสดง เนื่องจากสถานการณ์โควิด-19)

5.24 ‘Three Spirits of ASEAN’ สำหรับแซกโซโฟน และเปียโน ประพันธ์ในปี พ.ศ. 2563

  • จัดทำเป็นซีดี ชื่อ “Australian Thais” บรรเลงโดย HD Duo จัดทำโดย Cala Signum พ.ศ. 2564

 

ผลงานทางวิชาการประเภทหนังสือ

       1. อรรถาธิบายและบทวิเคราะห์บทเพลงที่ประพันธ์โดย ณรงค์ฤทธิ์ ธรรมบุตร. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553.

       2. การประพันธ์เพลงร่วมสมัย. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552.

ศาสตราจารย์ ดร.ณรงค์ฤทธิ์ ธรรมบุตร  

คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 

สรุปผลงาน 30 ปีของ ศาสตราจารย์ ดร.ณรงค์ฤทธิ์ ธรรมบุตร

ประเภทผลงานการประพันธ์เพลง (เฉพาะบทเพลงสำหรับออร์เคสตราและบทเพลงที่สำคัญ)

1. Srivijaya (ศรีวิชัย) พ.ศ.2563

2. Suvarnabhumi Prelude (สุวรรณภูมิเพรลูด) พ.ศ.2562

3. Civilizations of ASEAN (อารยธรรมแห่งอุษาคเนย์) พ.ศ.2562

4. The Bodindra Symphony (ซิมโฟนีบดินทร) พ.ศ. 2562

5. Asian Euphony (เอเชียนยูโฟนี) พ.ศ. 2561

6. Symphony of Rattanakosin (ซิมโฟนีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์) พ.ศ. 2560

7. Sinfonia Siamindra (ซินโฟเนียสยามินทร์) พ.ศ. 2560

8. Symphony “Bhumibol Adulyadej Maharaja” for Orchestra and Chorus (ซิมโฟนีภูมิพลอดุลยเดชมหาราชา) พ.ศ. 2560

9. Bhattara Maharaja Overture (โหมโรงภัทรมหาราชา) พ.ศ. 2560

10. The Portrait of Three Temples (ภาพแห่งสามวัด) พ.ศ. 2559

11. Quintet for the Spirits of ASEAN (เปียโนควินเท็ต “จิตวิญญาณแห่งอาเซียน”) พ.ศ. 2559

12. Symphonic Poem “Le pas de mon Père” (เดินตามรอยเท้าพ่อ) พ.ศ. 2558

13. The Harmony of Chimes (ประสานเสียงสำเนียงระฆัง) : A Symphony for ASEAN Traditional Instruments and Orchestra พ.ศ. 2557

14. Piano Concerto of Siam (เปียโนคอนแชร์โตแห่งกรุงสยาม) พ.ศ. 2556

15. Narmada (นัมมทา) : Concerto for Piano and String Orchestra พ.ศ. 2555

16. Moonlight (แสงจันทร์) พ.ศ. 2554

17. Piyasayamintra (ปิยสยามินทร์) : A Choral Symphony for Reciter, Soprano, Chorus and Orchestra พ.ศ. 2553

18. Sunlight (แสงอรุณ) พ.ศ. 2552

19. Pledge to HRH Princess Galyani Vadhana (ถวายปฏิญญา) for Reciter, Soprano, Chorus and Orchestra พ.ศ. 2551

20. Jatubhumi Overture (โหมโรงจตุภูมิ) พ.ศ. 2551

21. Concerto Sankitamankala (คอนแชร์โตสังคีตมงคล) for Violin and Orchestra พ.ศ. 2550

22. Sinfonia Suvarnabhumi (ซินโฟเนียสุวรรณภูมิ) พ.ศ. 2549

23. Symphony of 2489 (ซิมโฟนีแห่งพุทธศักราช 2489) พ.ศ. 2547

24. Symphony of the Spheres (ซิมโฟนีแห่งสกลจักรวาล) พ.ศ. 2545

25. Concerto Maharaja (คอนแชร์โตมหาราชา) for Ranad-ek and Orchestra พ.ศ. 2542

26. Sinfonia Chakri (ซินโฟเนียจักรี) พ.ศ. 2539

27. Sinfonia Ayutthaya (ซินโฟเนียอยุธยา) พ.ศ. 2538

28. Bhawangkha (ภวังค์) for Ranad-ek and Orchestra พ.ศ. 2537

29. Concerto for Orchestra พ.ศ. 2536

30. Sinfonia Jamjuree (ซินโฟเนียจามจุรี) พ.ศ. 2535

31. Dhamachakra (ธรรมจักร) พ.ศ. 2532

32. Night and Morning in the Spheres (กลางคืนและรุ่งเช้าในสกลจักรวาล) พ.ศ. 2530

 

ประเภทหนังสือ

1. อรรถาธิบายและบทวิเคราะห์บทเพลงที่ประพันธ์โดย ณรงค์ฤทธิ์ ธรรมบุตร. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553.

2. การประพันธ์เพลงร่วมสมัย. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552.